top of page

ประวัติพระอารามหลวง

วัดไร่ขิง
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง
WATRAIKHING_Nakhonprathom3.jpg

    วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีนหรือเรียกอีกชื่อว่าแม่น้ำนครชัยศรี ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย สร้างโดย "สมเด็จพระพุทธฒาจารย์ (พุก)" มีหลวงพ่อวัดไร่ขิงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ที่ชาวนครปฐมเคารพนับถือ ระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 3 ค่ำ เดือน 5 และช่วงเทศการตรุษจีนทุกปีจะมีงานเทศกาลนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิงประจำปี ซึ่งเป็นงานใหญ่ของชาวนครปฐม เดิมเป็นวัดราษฏร์ ต่อมาจึงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533

          วัดไร่ขิง พระอารามหลวง หรือ วัดมงคลจินดาราม ตั้งอยู่ที่อำเภอสามพรานห่างจากกรุงเทพฯ 32 กม. มีทางเข้า 3 ทาง คือ ทางแยกหน้าสถานีตำรวจโพธิ์แก้ว ทางแยกหน้าสวนสามพราน และทางแยกพุทธมณฑลสาย 5 วัดไร่ขิง เป็นวัดราษฎร์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2334 โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เรียกชื่อวัดตามชื่อตำบล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดศาลาปูนมาประดิษฐานไว้ที่วัดไร่ขิงด้วย ปัจจุบันชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ พุทธลักษณะเป็นสมัยเชียงแสน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยไทยล้านนา และล้านช้าง ตามตำนาน เล่าว่าลอยน้ำมา และอัญเชิญขึ้นไว้ที่วัดศาลาปูน วัดไร่ขิงนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระราชทานนามให้ว่า วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง) แต่ชาวบ้านเรียกกันเต็ม ๆ ว่าวัดมงคลจินดารามไร่ขิง จนกระทั่งเหลือแต่ชื่อวัดไร่ขิงไปในที่สุด

         วัดไร่ขิง พระอารามหลวง เป็นวัดที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันดี นิยมเดินทางไปนมัสการหลวงพ่อวัดไร่ขิงกันอยู่เสมอ ทุกวันอาทิตย์จะมีตลาดนัดอาหารและผลไม้จำหน่ายหน้าวัด และที่บริเวณริมแม่น้ำหน้าโบสถ์จะมีชาวสวนพายเรือนำพืชผักผลไม้มาจำหน่าย และบริเวณริมแม่น้ำหน้าโบสถ์นี้เป็นเขตอภัยทาน ร่มรื่น มีปลาสวายตัวโตนับพันอาศัยอยู่ นักท่องเที่ยวสามารถซื้อขนมปังเลี้ยงปลาได้ และยังมีก๋วยเตี๋ยวเรือ (หมู) รสเลิศขายทุกวัน นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ของเก่า รวบรวมของเก่าเช่นถ้วยชาม หนังสือเก่า ซึ่งชาวบ้านนำมาถวายวัดจัดแสดงไว้ มีบ้านดินอินทณัฐซึ่งสร้างจากดินเหนียวซึ่งภายในเล่าถึงพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า มีบ่อปลาคาร์ฟให้ผู้ที่มาทำบุญได้ให้อาหารด้วยขวดนม มีจุดพักผ่อนหย่อนใจที่สวยงาม และในระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 3 ค่ำเดือน 5 ของทุกปี ทางวัดไร่ขิงจะจัดงานนมัสการหลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้น มีการออกร้านและมหรสพมากมาย

ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง

พ.ศ. 1234 - 5678

- พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 

พ.ศ. 1234 - ปัจจุบัน

- พระเทพศาสนาภิบาล

วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
วัดพระปฐมเจดีย์
0004932_-_(Phra_Pathom_Chedi_-_002).jpg

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร[1] ตั้งอยู่ที่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐมจังหวัดนครปฐม มีจุดเด่นที่สำคัญคือ องค์พระปฐมเจดีย์ หรือ พระธมเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์ที่ใหญ่และสูงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย[2]

องค์พระปฐมเจดีย์ปัจจุบันนี้ เป็นพระเจดีย์ทรงลังกา แบบสุโขทัย สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสร้างครอบเจดีย์เดิมถึงสององค์ ได้แก่ เจดีย์ทรงสถูปสาญจีตามแบบอินเดียยุคพระเจ้าอโศกมหาราช และเจดีย์ทรงขอมโบราณ

นอกจากองค์พระปฐมเจดีย์แล้ว ในลานชั้นลดด้านทิศใต้องค์พระปฐมเจดีย์และพระอุโบสถมีพระประธาน พระพุทธรูปศิลาขาว ซึ่งเป็นสองในสี่พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท ปางแสดงธรรม ที่สร้างขึ้นในยุคทราวดี

พระปฐมเจดีย์

องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นปูชนียสถานอันสำคัญของประเทศไทย อยู่ภายในวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร มีประวัติความเป็นมายาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระโคตมพุทธเจ้า

องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ใหญ่ รูป ระฆังคว่ำ ปากผายมหึมา โครงสร้างเป็นไม้ซุง รัดด้วยโซ่เส้นมหึมาก่ออิฐ ถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องปูทับ ประกอบด้วยวิหาร 4 ทิศ กำแพงแก้ว 2 ชั้น ถือเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุด เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยอีกด้วย เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการบูชาของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ทางวัดกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึง วันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน เป็น ประจำทุกปี

ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์

พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์ มีฐานะเป็นมหาธาตุหลวง ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราชเดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิก็เป็นได้ เพราะพระเจดีย์เดิมมีลักษณะทรงโอคว่ำหรือทรงมะนาวผ่าซีกแบบเดียวกับพระสถูปสาญจี แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ฯ มีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของพระมหาเถรศรีศรัทธา อันได้กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับ เมืองราด เมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานนามใหม่ว่าพระปฐมเจดีย์

ในเรื่องนี้นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีบางท่านได้ระบุว่า พระปฐมเจดีย์ไม่ได้เป็นเจดีย์ที่เก่าที่สุดของสุวรรณภูมิ แต่เป็น พระมหาธาตุหลวง ในยุคทวารวดีมากกว่า เนื่องด้วยเหตุผลประกอบหลายประการ โดยเฉพาะการค้นพบเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่กว่าพระธมเจดีย์และหลักฐานลายลักษณ์อักษร ที่ระบุว่า " พระเจดีย์องค์นี้ เดิม ขอมเรียก พระธม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชาวขอมจริงๆ หรือชาวลวรัฐ ซึ่งสมัยนั้นเราก็เรียกว่าขอม เช่น ขอมสบาดโขลญลำพง คำว่า ธม สำหรับ ชาวขอม นั้น แปลว่า ใหญ่ ตรงกับคำเมืองว่า หลวง ซึ่งเราก็เรียกพระนครธม ว่า พระนครหลวง ด้วยเหตุผลเดียวกัน

นอกจากนี้วัดพระปฐมเจดีย์ยังเป็นที่พระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสรีรางคารพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 และพระสรีรางคารสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งบรรจุไว้ที่ผนังเบื้องหลังพระร่วงโรจนฤทธิ์ ที่พระวิหารทิศเหนือ องค์พระปฐมเจดีย์

พระร่วงโรจนฤทธิ์

ปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปโบราณเป็นอันมาก แต่มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่ศรีสัชนาลัย (จังหวัดสุโขทัย) กอปรด้วยพระลักษณะงามเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย แต่ชำรุดมากเหลืออยู่แต่พระเศียร พระหัตถ์และพระบาท จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ แล้วให้ช่างปั้นสถาปนาขึ้นมาบริบูรณ์เต็มพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีเททองหล่อขึ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร

พระร่วงโรจนฤทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วไป ชื่อเต็มก็คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2466 แต่ประชาชนทั่วไปจะเรียกว่า หลวงพ่อพระร่วง หรือ พระร่วงโรจนฤทธิ์

พระร่วงโรจนฤทธิ์ มีขนาดความสูงวัดจากพระบาทถึงพระเกศ 7.42 เมตร หรือราว 12 ศอก 4 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ศิลปะแบบสุโขทัย ประทับยืนอยู่บนฐานทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย ทำวงพระพักตร์ตามยาว พระหนุเสี้ยมนิ้วพระหัตถ์และพระบาทไม่เสมอกัน ห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าระดับพระอุระ เป็นกิริยาห้าม มีพระอุทรพลุ้ยออกมา ห่มจีวรบางคลุมแนบติดพระวรกาย บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ทำด้วยโลหะทองเหลืองหนัก 100 หาบ

การอัญเชิญพระร่วงโรจนฤทธิ์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2457 จำเป็นต้องแยกชิ้นมาและมาประกอบเข้าด้วยกันที่จังหวัดนครปฐม แล้วเสร็จเป็นองค์สมบูรณ์เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตแล้วตามความในพระราชพินัยกรรมของพระองค์ระบุว่าให้ บรรจุพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ไว้ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ที่องค์พระปฐมเจดีย์ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2469 จึงได้ทำพิธีบรรจุ พระบรมราชสรีรางคาร ณ ผนังเบื้องหลังพระร่วงโรจนฤทธิ์ ตามพระราชประสงค์ทุกประการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 หลังจากการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2529 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดเกล้าให้อัญเชิญพระสรีรางคาร มาประดิษฐานไว้เคียงข้างพระบรมราชสรีรางคารของพระสวามี และในปี พ.ศ. 2555 หลังจากพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงโปรดเกล้าให้อัญเชิญพระสรีรางคาร มาประดิษฐานไว้เคียงข้างพระบรมราชสรีรางคารของพระชนกนาถ และพระสรีรางคารของพระชนนี

ที่มา : วิกิพีเดีย

ทำเนียบเจ้าอาวาส

ลำดับที่รายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระ

1 เจ้าอธิการแป้นก่อน พ.ศ. 2400พ.ศ.2408

2 พระสนิทสมณคุณ (แก้ว)พ.ศ. 2408พ.ศ. 2411

3 พระปฐมเจติยานุรักษ์ (กล่ำ)พ.ศ. 2411พ.ศ. 2447

4 พระราชโมลี (ช้อน โสณุตฺตโร)พ.ศ. 2453พ.ศ. 2455

5 พระพุทธรักขิต (พลอย)พ.ศ. 2455พ.ศ. 2462

พระธรรมวโรดม (โชติ ธมฺมปฺปโชติโก)พ.ศ. 2465พ.ศ. 2497

7 พระธรรมสิริชัย (ชิต ชิตวิปุโล)พ.ศ. 2497พ.ศ. 2527

8 พระราชสิริชัยมุนี (โชติ)พ.ศ. 2528พ.ศ. 2535

พระพรหมเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม)พ.ศ. 2536ปัจจุบัน

วัดพระประโทณเจดีย์
วัดพระประโทณเจดีย์
DSC_04421.jpg

วัดพระประโทณเจดีย์ วรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 78 หลักกิโลเมตรที่ 52 ถ.เพชรเกษม ต.พระประโทน อ. เมืองนครปฐม จ. นครปฐม อาณาเขตของวัดมีพื้นที่รวมทั้งหมด 120 ไร่ 3 งาน 12 ตารางวา โดยแบ่งเป็นพื้นที่วัด 74 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์ 
45 ไร่ 3 งาน 68 ตารางวา วัดพระประโทณเจดีย์ วรวิหาร ได้รับมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2527 โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2527

 

ความเป็นมาของวัดพระประโทณเจดีย์ วรวิหาร 

วัดพระประโทณเจดีย์ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยที่อาณาจักรทวารวดีรุ่งเรืองทางด้านศิลปวัตถุและสถาปัตยกรรม จากการขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณใกล้เคียงองค์พระประโทณเจดีย์ ได้พบรูปกวางหมอบศิลาฝังอยู่ในแผ่นดิน ทางด้านทิศเหนือของวัด อยู่ห่างประมาณ 5 เส้นเศษ ลึกประมาณเมตรเศษ รวมอยู่กับเจดีย์เก่า และบริเวณนั้นมีอิฐโบราณอยู่เป็นจำนวนมาก กวงาหมอบศิลานั้นเป็นศิลปะแบบทวารวดี ที่ทำตามแบบในอินเดีย ครั้งสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพราะในสมัยพระเจ้าอโศกนี้ ยังไม่มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้น จึงนิยมสร้างศิลปะวัตถุ ที่เกี่ยวกับสังเวชนียสถานเป็นส่วนมาก เช่นรูปกวางหมอบ เสมาธรรมจักรก็เป็นส่วนที่เกี่ยวกับตอนที่พระพุทธเจ้า แสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก ที่ป่า อิสิปตนมฤคหทายวัน เป็นต้น 

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่ยืนยัน ความเป็นมาของวัดพระประโทณเจดีย์ ควบคู่กับความเป็นมาของอาณาจักรทวารวดี คือ ได้พบเหรียญเงิน 2 เหรียญ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2 และ 1.5 เซนติเมตร ค้นพบที่บ้านสองตอน (ปัจจุบัน อยู่ใกล้บ้านหนองบอนงาม) ม. 2 ต. พระประโทน อ. เมืองนครปฐม จ. นครปฐม

ซึ่งศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ อ่านศิลาจารึกบนเหรียญดังกล่าว ได้ความว่า "ศรีทวารวดี ศวรบุณยะ" ซึ่งแปลว่า "บุญของพระราชาแห่งศรีทวารวดี" สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในเรื่องมูลเหตุการสร้างวัด ซึ่งกรมศาสนาพิมพ์ขึ้นไว้ในหนังสือชื่อใบลานตอนหนึ่งได้ทรงเอ่ยถึงวัดพระประโทณเจดีย์ว่า ชั้นเดิมพระพุทธศาสนาคงจะรุ่งเรืองแต่ในบ้านเมืองแล้วจึงแผ่ออกไปที่อื่นโดยลำดับ ด้วยเหตุนี้วัดในครั้งดึกดำบรรพ์ ซึ่งยังปรากฏอยู่จึงมักอยู่ในท้องถิ่นอันเป็นเมืองเก่า และเป็นเมืองอันเคยเป็นราชธานี โดยเฉพาะห่างออกไปหาใคร่จะมีไม่ จะยกเป็นอุทาหรณ์ดังเช่นเมืองนครปฐม นอกจากพระปฐมเจดีย์ ยังปรากฏวัดซึ่งมีเจดีย์ใหญ่ๆ สร้างไว้อีกหลายแห่ง แต่พอเห็นได้ง่ายในเวลานี้ เช่นวัดพระงาม และวัดพระประโทณเจดีย์ เป็นต้น นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงสันนิษฐานถึงเหตุแห่งการสร้างวัดไว้อีกว่า การสร้างวัดแต่สมัยดึกดำบรรพ์ มี 2 ประการ คือ สร้างเป็นพุทธเจดีย์ ถือว่าเป็นหลักของพระพุทธศาสนาในที่แห่งนั้นอย่างหนึ่ง สร้างเป็นอนุสาวรีย์เจดีย์ เป็นที่บรรจุอัฐิของท่านผู้ทรงคุณธรรมในศาสนาอินเดียโบราณอย่างหนึ่ง แต่ก็อุทิศให้เป็นเรือนเจดีย์ในพระพุทธศาสนาด้วย

เนื่องจากวัดในสมัยทวารวดีนั้นคงจะมีหลายวัด ที่มีความสำคัญ เช่น วัดพระปฐมเจดีย์ ฯ วัดพระงาม วัดพระประโทณเจดีย์ เป็นต้น แต่หลักฐานที่ยืนยันว่าพระประโทณเจดีย์อยู่กลางเมืองศูนย์กลางความเจริญในสมัยทวารวดี ก็คือ จากการค้นพบโดยการถ่ายภาพถ่ายทางอากาศ ที่หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล ทรงบรรยายที่พระประโทณเจดีย์และเจดีย์จุลประโทน

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ให้คณะนักโบราณคดีที่มาร่วมในสถานที่นี้ว่า ศิลปะทวารวดีนี้ ปัจจุบันมีการขุดค้นกันมาก โดยเฉพาะที่เมืองนครปฐม คือเราเชื่อกันมานานแล้วว่า เมืองนครปฐมนี้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักร และได้ค้นพบศิลปะทวารวดีที่นี่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงถึงการได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะ อินเดียแบบคุปตะ และหลังคุปตะ แต่ว่าตัวเมืองยังค้นไม่พบ เมื่อเร็วๆนี้มีการศึกษาจากภาพถ่ายทางอากาศ ทำให้สามารถทราบได้ว่า เมืองโบราณที่นครปฐมนั้น ตั้งอยู่ทิศตะวันออกขององค์พระปฐมเจดีย์ในปัจจุบัน ซึ่งก็คือตั้งอยู่ในบริเวณตำบลพระประโทน มีพระประโทณเจดีย์เป็นศูนย์กลาง การที่กล่าวถึงสถานที่สำคัญเช่น พระปฐมเจดีย์ ว่าตั้งอยู่นอกเมืองโบราณนี้ไม่เป็นของแปลก เพราะว่าในสมัยโบราณเขาทำกันแบบนี้ทั้งสิ้น คือ ศาสนสถานใหญ่ๆ ที่สำคัญ มักตั้งอยู่นอกเมือง อาจเป็นเพราะต้องการความสงบเงียบก็ได้ เพราะฉะนั้น ในตอนนี้ก็ได้ค้นพบแล้วว่า เมืองสมัยวารวดีที่นครปฐมนั้น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของนครปฐมและมีพระประโทณเจดีย์ เป็นจุดศูนย์กลาง ได้ค้นพบร่องรอยมีคูล้อมรอบตัวเมืองคล้ายรูปไข่ซึ่งเป็นสมัยทวารวดีปรากฏอยู่ จากอดีตอันยาวนานไม่ต่ำกว่า 1,500 ปี วัดพระประโทณเจดีย์ได้ผ่านยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด แล้วทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และได้พลิกฟื้นเจริญรุ่งเรืองมาอยู่ในระดับวัดแนวหน้า จนได้รับยกย่องเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ได้รับยกย่องเป็นวัดพัฒนาดีเด่น และยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร และได้รับพระราชทานพัด วัดพัฒนาดีเด่น เมื่อปี พ.ศ. 2527 ดังนี้ ก็เพราะความพยายามอย่างยวดยิ่ง ในการปรับปรุงพัฒนาบริเวณภายในวัด ให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยเจริญตาเจริญใจแก่ผู้พบเห็น ได้ซ่อมแซมก่อสร้างกุฏิวิหารให้มั่นคงแข็งแรงสวยงาม ของหลวงพ่อเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ พระเดชพระคุณฯ พระราชเจติยาภิบาล

ที่มา: http://www.oocities.org/prapatone/templehist.html

วัดพระงาม
วัดพระงาม
วัดพระงาม-1-1-1024x768.jpg

วัดพระงาม  ตั้งอยู่เลขที่ 45 ถนนหน้าโรงไฟฟ้า ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม  จังหวัดนครปฐม

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ 45 ถนนหน้าโรงไฟฟ้า ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 44 ไร่ 48 ตารางวา  สถานที่ตั้งของวัดอยู่ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 500 เมตร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2505 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2539  
ประวัติความเป็นมา
             เดิมวัดพระงามเป็นวัดราษฎร๋์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดพระงามเป็นพระอารามหลวงเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2539 ภายในวัดมีซากเจดีย์ขนาดใหญ่ที่คาดว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างสมัยทวาราวดีในศตวรรษที่ 11 หรือ 12 ถึงศตวรรษที่ 16 เช่นเดียวกับองค์พระปฐมเจดีย์  พระปรางค์วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร และที่วัดทุ่งพระเมรุที่บริเวณสวนอนันต์ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสด็จเยี่ยมวัดต่าง ๆ ได้ทรงปรารภว่าวัดพระงามน่าจะสร้างขึ้นในสมัยเดียวกับเมืองนครปฐมเป็นราชธานี ชื่อ ทวารวดี เพราะมีโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบในบริเวณนี้ล้วนแต่เป็นของเก่าสมัยทวารวดีทั้งสิ้น เช่นเดียวกับที่ขุดได้บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ พระพิมพ์ดินเผา เฉพาะที่ขุดได้ในบริเวณนี้จัดว่างดงามมาก ยากที่จะหาที่อื่นเสมอเหมือน ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ บางส่วนที่แตกหักได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์องค์พระปฐมเจดีย์
              วัดพระงามได้รกร้างไปตามสภาพของบ้านเมืองและเจริญรุ่งเรืองเมื่อมีการสร้างเมืองใหม่ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นครองราชย์แล้วได้สั่งให้ช่างมาทำการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระองค์ท่านยังทรงผนวชอยู่ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการและปักกลดด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ ทรงทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างเป็นนิมิตรมหัศจรรย์ที่องค์พระปฐมเจดีย์องค์เดิม ทรงมั่นพระทัยว่าเจดีย์องค์นี้เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จึงให้ทรงปรับปรุงองค์พระปฐมเจดีย์เป็นรมณียสถานดังที่ปรากฎมาจนทุกวันนี้
               หลังจากที่บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์มาเป็นเวลา 52 ปี มีพระภิกษุ 2 รูป จากวัดพระปฐมเจดีย์ คือ พระวินัยธรจุ้ย และพระอาจารย์ฮะ ได้มาจำพรรษาที่วัดพระงามซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง  จึงได้แผ้วถางที่รกร้างว่างเปล่าพบกุฏิโบราณ 1 หลัง วิหารบนเนินดิน มีพระพุทธรูปเก่าและซากเจดีย์ใหญ่หักอยู่ 1 องค์ สำหรับเนินดินสันนิษฐานว่าเป็นซากเจดีย์พังทลายลงตามกาลเวลา ส่วนวิหารบนเนินดินนั้นกรมศิลปากรได้ทำการสำรวจและสันนิษฐานว่าเป็นวิหารที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา  เพราะลักษณะการก่อสร้างในสมัยนั้นฐานของวิหารจะคล้ายรูปเรือสำเภา จากคำบอกเล่าของหลวงปู่แช่ม ชมมณี ได้เล่าให้เจ้าอาวาสรูปที่ 7 ซึ่งขณะนั้นเป็นฆราวาสชื่อทองคำ ชมเชย ฟังถึงบริเวณเนินเจดีย์เป็นป่าไผ่ทึบ  ด้านทิศตะวันตกเป็นสถานที่ฝังศพของชาวบ้านและแต่ก่อนเคยเป็นแดนประหารนักโทษชื่อนายแดง  ใกล้ต้นมะขามใหญ่ปัจจุบันต้นมะขามต้นนี้ก็ยังปรากฎอยู่
               พระอาจารย์ฮะ และพระวินัยธรจุ้ย ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพระงาม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2446  ตลอดระยะเวลาที่พระอาจารย์ฮะได้จำพรรษาได้เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 2 ท่านได้ทำการพัฒนาวัดที่เคยรกร้างให้เตียน สะอาด เรียบร้อย สร้างกุฏิหลังเล็ก ๆ หลังคามุงด้วยแฝกประมาณ 3 - 4 หลัง ในครั้งนั้นมีพระจำพรรษา 4-5 รูป ต่อมาพวกชาวบ้านได้มีจิตศรัทธาจึงให้การสนับสนุนในการสร้างกุฏิที่มั่นคงรวมทั้งได้ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันสร้างอุโบสถโดยมีพระอาจารย์ฮะเป็นผู้ริเริ่ม อุโบสถนั้นมีขนาดความยาว 9 วา กว้าง 6 วา ทำการผูกพัทธสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 ตรงกับ ร.ศ.125 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาว่า "วัดโสภาพุทธาราม" แต่ไม่มีผู้นิยมเรียกกันจนจำชื่อวัดกันแทบไม่ได้ ครั้งเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงสำรวจวัด และทรงเรียกว่า "วัดพระงาม" ซึ่งน่าจะมาจากสาเหตุที่ค้นพบเครื่องดินเผาที่เป็นเศียรพระพุทธรูปที่งดงามได้ที่วัด จึงเป็นชื่อที่เรียกกันมาจนทุกวันนี้
               หลังจากพระอาจารย์ฮะ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 2 มรณภาพลง จึงไปนิมนต์พระปลัดมณีซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยจระเข้ได้ 5 พรรษา มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3 เนื่องจากพระปลัดมณี และบรรพบุรุษเป็นคนวัดพระงาม ตลอดระยะเวลาที่พระปลัดมณีดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านเป็นพระนักเทศน์ ท่านมีพรสวรรค์ในการเทศน์มหาชาติได้ไพเราะทั้งลีลาและทำนอง ถึงกับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพรับสั่งให้เทศน์ให้ฟังที่ตำหนักเมืองนครปฐม(ปัจจุบันเป็นสำนักงานเทศบาลเมืองนครปฐม) นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระนักพัฒนา ริเริ่มก่อสร้างกุฏิที่ถาวรมั่นคง สร้างศาลาการเปรียญ(ปัจจุบันได้รื้อและ
ทำการสร้างหลังใหม่ขึ้นแทน) สร้างหอระฆัง(ปัจจุบันได้ทำการบูรณะและอนุรักษ์ไว้) และได้ให้ความสำคัญของการศึกษา โดยตั้งโรงเรียนสอนนักธรรมขึ้นภายในวัด เป็นพระนักปกครองที่พระและเณรลูกวัดให้ความเคารพยำเกรงตลอดจนปกครองคณะสงฆ์และวัดต่างๆ ในตำแหน่งเจ้าคณะตำบลพระปฐมเจดีย์จนกระทั่ง
ท่านได้ลาสิกขา
                หลังจากที่พระปลัดมณีได้ลาสิกขา  พระอาจารย์เจียร บุญรักษ์ ซึ่งเป็นศิษย์ของพระปลัดมณีมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ 3 ปี โดยมิได้สร้างสิ่งใดเพิ่มเติมนอกจากทำการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรมให้คงสภาพเจ้าอาวาสรูปต่อมาก็ดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จนกระทั่งเจ้าอธิการทองคำ ธมฺมทีโป(ทองคำ ชมเชย) นักธรรมเอก เป็นเจ้าคณะตำบลพระปฐมเจดีย์ เป็นพระธรรมรุ่นแรกได้เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 7 ได้มีการปรับปรุงกุฏิขึ้นมาใหม่ เทคอนกรีตภายในวัด ริเริ่มตั้งโรงเรียนสอนบาลีขึ้นในวัดพระงาม โดยได้รับการสนับสนุนจากพระครูปลัดสุวัฒนสุตคุณ(พระธรรมราชานุวัตร อดีตเจ้าคณะภาค 3 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ ซึ่งปัจจุบันได้มรณภาพแล้ว) เป็นกำลังสำคัญในการจัดตั้งและยุบลงเมื่อมีการ
ตั้งโรงเรียนสหศึกษาบาลีที่องค์พระปฐมเจดีย์ แต่มีการก่อตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นแทนปัจจุบันคือโรงเรียนเทศบาล 1 วัดพระงาม โดยอาศัยเรียนที่ศาลาการเปรียญชั้นล่าง เมื่อเจ้าอธิการทองคำลาสิกขาได้มีเจ้าอธิการพ่วง เจ้าคณะตำบลมารักษาการเจ้าอาวาสอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งพระอธิการจิตร จตฺตมโล มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ 9
                เมื่อพระอธิการจิตร จตฺตมโล มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านได้ริเริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่เนื่องจากหลังเก่าชำรุดและคับแคบ ได้เริ่มก่อสร้างต้ังแต่ปี พ.ศ.2505 โดยมีหลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอมเป็นประธานในการจัดสร้าง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมามีขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2505 และทำการผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.2506 นอกจากนี้ทางวัดยังได้ขยายเมรุที่คับแคบออกไปอีกโดยได้รับจิตศรัทธาจาก นายประวัติ ศรีบัวทอง เป็นเจ้าภาพในการต่อเติม พระอธิการจิตรได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ.2512 เนื่องจากสุขภาพไม่ค่อยดีและมรณภาพลงในปี พ.ศ.2528
                ในปี พ.ศ.2512-2527 พระราชปัญญาภรณ์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14 วัดไร่ขิง ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดนครปฐมในขณะนั้น ได้มารักษาการเจ้าอาวาสวัดพระงามเป็นผู้บุกเบิกวัดพระงามให้เจริญรุ่งเรืองตราบจนทุกวันนี้ ทั้งนี้เนื่องจากท่านพิจารณาเห็นว่าวัดพระงามตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมคืออยู่ในย่านชุมชน มีการคมนาคมสะดวกทั้งทางรถไฟและทางรถยนต์ จึงได้ปรึกษากับคณะกรรมการวัดเห็นสมควรสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ให้
กว้างขวางและทันสมัยโดยสร้างอาคารเป็น 2ชั้น สร้างโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม สร้างซุ้มประตูหน้าวัดด้านถนนพระยาพานเมื่อ พ.ศ.2514 โดยได้รับการบริจาคจากนายประวัติ ศรีบัวทอง  สร้างกุฏิเรือนไทย 2 ชั้น จำนวน 12 หลัง  รื้อโรงครัวหลังเก่าเพื่อสร้างเป็นศาลาบำเพ็ญกุศลและคลังเก็บพัสดุ  ปรับปรุงสถานที่ภายในวัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ให้การสนับสนุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรทั้งแผนกธรรมและบาลี
                ในปี พ.ศ.2527 พระมหาโสภา เขมสรโณ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระงาม ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาบำเพ็ญที่พระราชปัญญาภรณ์ได้ดำริห์ไว้จนเสร็จเรียบร้อย สร้างประตูทางด้านทิศเหนือ โดยได้รับบริจาคจากกำนันพัน คำสุวรรณ และครอบครัว ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ทาสีอุโบสถ มุงกระเบื้องหลังคาศาลาการเปรียญใหม่ สร้างหอระฆัง โดยได้รับการบริจาคจากคุณอนงค์ ศรีสุขุมบวรชัย และครอบครัวพร้อมทั้งได้รับบริจาคจากประชาชนสร้างกุฏิเพิ่มเติม ปรับปรุงผิดดินหลังเมรุทำสวนหย่อม บูรณะวิหารมณฑปบนเนินดินร่วมกับกรมศิลปากร  จัดสร้างกำแพงวัดด้านทิศเหนือขนานที่ดินของการรถไฟ
แห่งประเทศไทย ปรับปรุงสุสานเพื่อดำเนินการก่อสร้างเมรุเผาศพระบบเตาไฟ้าที่เป็นแบบไร้กลิ่น ไร้ควัน ปัจจุบันการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่งเสริมด้านการศึกษาของพระภิกษุสามเณร  โดยให้ทุนการศึกษาแก่พระภิกษุและสามเณรที่เรียนดี และจัดตั้งกองทุนระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา  โดยมอบทุนการศึกษาให้เป็นประจำทุกปี
                ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดพระงามเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.2539 ทางเจ้าคณะจังหวัดนครปฐมได้แต่งตั้งพระครููสุกิตติวราภรณ์ รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระงาม พระมหาโสภา เขมสรโณ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระงามพระอารามหลวง และได้รับมอบหมายจากเจ้าคณะจังหวัดนครปฐมให้เป็นผู้ทำการแทนเจ้าอาวาส ปกครองดูแลพระภิกษุสามเณรภายในวัดพระงามพระอารามหลวง ต่อมาในปี พ.ศ.2540 พระมหาโสภา เขมสรโณ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดพระงาม พ.ศ.2547 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชปริยัติโมลี (มรณภาพเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2551) 
                ปัจจุบัน  พระมหาสมบูรณ์ ทสฺสธมฺโม  เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพระงาม พระอารามหลวง 

วัดเสนหา
วัดเสนหา
Y8192850-2.jpg

วัดเสนหา  ตั้งอยู่เลขที่ 588 ถนนรถไฟตะวันตก หมู่ที่ 7 ตำบลพระปฐมเจดีย์  อำเภอเมืองนครปฐม  จังหวัดนครปฐม

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ  ตั้งอยู่เลขที่ 588 ถนนรถไฟตะวันตก หมู่ที่ 7 ตำบลพระปฐมเจดีย์  อำเภอเมืองนครปฐม  จังหวัดนครปฐม  สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ประมาณ 36 ไร่  2 งาน  40 ตารางวา  โฉนดที่ดินเลขที่ 978, 979, 6420 รวม 3 โฉนด  ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2452  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2462  เขตวิสุงคามสีมากว้าง 2 เส้น ยาว 3 เส้น ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2487
                อาณาเขต    ทิศเหนือ             จดคลองเจดีย์บูชาตอนบน
                                  ทิศใต้                  จดทางรถไฟสายใต้
                                  ทิศตะวันออก        จดคลองเจดีย์บูชาตอนบน
                                  ทิศตะวันตก          จดถนนสวนตะไคร้
ประวัติความเป็นมา
                 วัดเสนหา เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2452  โดยมีนายเพิ่มเสนหา  บุญนาค  เป็นบุตรพระยาศรีสรราชภักดี (วัน บุญนาค)  มารดาชื่อเปี่ยม เดิมตั้งบ้านเรือนอยู่ที่คลองบางหลวง จังหวัดธนบุรี  เมื่ออายุวัยพอสมควรได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แต่ท่านผู้นี้มีความพอใจในการพาณิช จึงได้ออกไปตั้งบ้านประกอบอาชีพทำการค้าขาย อยู่ตำบลพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม  จนฐานะมั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ทั้งปวงได้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินแปลงหนึ่ง เนื้อที่ประมาณ 45 ไร่ อยู่ใกล้เขตพระราชวังสนามจันทร์ซึ่งเป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ  ให้สร้างเป็นวัดเมื่อเดือนอ้าย ปีระกา ตรงกับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2452 โดยมีพระเถระผู้ใหญ่ 2 รูป คือ พระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส จังหวัดพระนคร  กับพระพุทธวิริยากร(จิตร ฉนฺโน) วัดสัตตนารถปริวัตร จังหวัดราชบุรี เป็นผู้รับที่ดินแทนคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ได้เป็นประธานช่วยอุปการะตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น  และได้จัดส่งพระภิกษุสามเณรจากวัดบรมนิวาสบ้าง วัดสัตตนารถปริวัตรบ้างมาอยู่จำพรรษา และได้ตั้งให้พระครูสังวรวินัย(อาจ ชุตินฺธโร) เป็นเจ้าสำนักปกครอง  อบรมพระภิกษุสามเณรที่อยู่จำพรรษาตั้งแต่เริ่มสร้างวัด และได้ใช้ชื่อของผู้บริจาคเป็นชื่อวัดตั้งแต่ต้นมา
                 โดยเสด็จพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ประทานให้เป็นทุนเริ่มแรกสร้างพระอุโบสถ  กับหล่อพระประธานอีกส่วนหนึ่ง พระประธานหล่อด้วยทองเหลือง พระเพลากว้าง 3 ศอก  และสูงตลอดถึงพระรัศมี 4 ศอก  โดยจำลองแบบพระพุทธชินสีห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร จังหวัดพระนคร  หล่อองค์พระเสร็จแล้วกาไหล่ด้วยทองคำน้ำหนัก 150 บาท ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2466
                  วัดเสนหา ส่งเสริมการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม สนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรได้เรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี กับทั้งแผนก
สายสามัญ โดยมีโรงเรียน 2 แห่ง ดังนี้
                  1. พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาวัดเสนหา ตั้งเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2535 โดยเรียนควบคู่ไปกับนักธรรมและบาลี ปัจจุบันมีนักเรียน
เกือบ 200 รูป และได้ส่งเสริมให้เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาต่อไป
                  2. โรงเรียนเทศบาล 2 วัดเสนหา(สมัครพลผดุง) ซึ่งเปิดทำการเรียนการสอนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2465
                  ปัจจุบัน พระราชวินยาภรณ์(มานิต ฐิตมโน) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง

bottom of page