top of page

โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข

สร้างสัปปายะสู่วัด ด้วยวิถี ๕ส

แนวทางการดำเนินงาน

๑. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานฯ

๒. ประกาศนโยบาย

๓. อบรมให้ความรู้

๔. สำรวจพื้นที่ด้วยคณะทำงานทั้งหมดและแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ วิเคราะห์จุดเด่น จุดปรับปรุง 

๕. จัดทำแผนปรับปรุง

๖. พิธีเปิด (Kick off) การทำความสะอาดครั้งใหญ่ (Big Cleaning Day)

๗. ตรวจประเมินพื้นที่และสรุปผลการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนที่ ๑

แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ

๑. เจ้าอาวาส เป็นประธานหรือเป็นที่ปรึกษา

๒. รองหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือพระผู้ประสานงาน     กรรมการ

๓. ตัวแทนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น              กรรมการ

๔. ตัวแทนจากองค์กรภาคเอกชนหรือรัฐบาลอื่นๆ       กรรมการ

๕. ตัวแทนกรรมการวัด                                              กรรมการ

๖. ตัวแทนชุมชน                                                       กรรมการ

๗. โดยมีตัวแทนขององค์กรหลักที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการ สามารถประกาศเป็นคำสั่งหรือทำเป็นแผนผังของคณะทำงาน

(ดูรายละเอียดตัวอย่างคำสั่งในเล่ม "แนวทางการขับเคลื่อนฯ")

ขั้นตอนที่ ๒

ประกาศนโยบาย

 

คณะกรรมการ สามารถใช้นโยบาย ๕ ส ของโครงการได้หรือเพิ่มเติมในส่วนที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ได้เช่นเดียวกัน โดยให้ผู้ลงนามฝ่ายวัด คือ เจ้าอาวาส ฝ่ายองค์กร คือผู้บริหารสูงสุดขององค์กรหลักที่เป็นเจ้าภาพ ส่วนองค์กรที่เข้ามาร่วมพัฒนาสามารถนำโลโก้มาติดไว้ในนโยบายได้เช่นเดียวกัน

(ดูรายละเอียดตัวอย่างหน้า ๓๕ ในเล่ม "แนวทางการขับเคลื่อนฯ")

ขั้นตอนที่ ๓

อบรมให้ความรู้

 

เป็นการอบรมให้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับ ระบบ ๕ ส กระบวนการขั้นตอนการทำ ๕ ส ในเบื้องต้น รวมถึงเทคนิคต่างๆ ในการทำ ๕ ส การอบรมให้ความรู้นั้นจะอบรมให้แก่พระสงฆ์สามเณร ชาวบ้าน จิตอาสา  พนักงานขององค์กรที่จะร่วมกันขับเคลื่อน

(ศึกษาเนื้อหาการอบรม หน้า ๕-๒๗  ในเล่ม "แนวทางการขับเคลื่อนฯ")

ขั้นตอนที่ ๔

สำรวจพื้นที่ด้วยคณะทำงานทั้งหมด

 

  • สำรวจพื้นที่วัด ทุกพื้นที่ต้องมีผู้รับผิดชอบ เพื่อทราบสภาพปัญหาปัจจุบันของวัด และกำหนดเป้าหมายที่จะปรับปรุง ก่อนปฏิบัติเป็นการจัดลำดับความสำคัญ ว่าพื้นที่ไหนควรทำก่อน-หลัง

  • จัดทำแผนผังของวัด เพื่อกำหนดขอบเขต และพื้นที่รับผิดชอบที่ชัดเจน รวมถึงเป็นการบ่งชี้เพื่อสร้างความสะดวกให้เกิดขึ้นในการเข้าถึงสถานที่ต่างๆ ภายในวัด หากที่วัดเคยมีการทำแผนผังไว้อยู่แล้วและสามารถใช้งานได้ดี ก็ไม่จำเป็นต้องจัดทำใหม่ แต่อาจพิจารณาปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และนำไปแสดงในจุดที่เหมาะสม

  • การวิเคราะห์พื้นที่เพื่อการพัฒนา เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน ของพื้นที่ และนำไปปรับปรุง พัฒนา กำหนดพื้นที่และผู้รับผิดชอบแผนงาน ตัวแทนวัด ช่วยประสานงานในการลงพื้นที่ขององค์กรและชุมชน ตัวแทนองค์กรลงไปวางแผนในการพัฒนและดำเนินการ ตัวแทนชุมชนช่วยดำเนินการพัฒนาและดูแลให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน

(ศึกษาเนื้อหาตัวอย่าง หน้า ๔๑  ในเล่ม "แนวทางการขับเคลื่อนฯ")

ขั้นตอนที่ ๕

จัดทำแผนปรับปรุง

 

  • เลือกพื้นที่ทำการปรับปรุง จากพื้นที่ย่อย ๙ หมวด ดังนี้

    • ป้ายชื่อ บริเวณหน้าวัด​ และแผนผังวัดโดยสังเขป (Lay Out)

    • การจัดการจราจร และที่จอดรถ

    • การจัดระบบคลังวัสดุครุภัณฑ์ การควบคุมการเบิก-จ่ายสิ่งของ

    • ห้องน้ำ

    • การจัดการขยะ

    • สภาพแวดล้อมทั่วไป (ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่เปิดโล่งต่างๆ ภายในวัด)

    • ระบบไฟฟ้า และการป้องกันอัคคีภัย

    • โรงครัว

    • อาคารเสนาสนะต่างๆ ภายในวัด
      (หมวด ๑-๕ เป็นหมวดที่โครงการแนะนำ ส่วนหมวด ๖-๙ พิจารณาตามความเหมาะสม

  • กำหนดแผนการปรับปรุงโดยดังต่อไปนี้ (ข้อ ๑-๓ จะต้องระบุในแบบฟอร์มรายงานผล

    • รูปถ่ายจุดที่จะทำการปรับปรุง​

    • วันที่คาดว่าจะปรับปรุง

    • ผู้รับผิดชอบในการปรับปรุง

    • วิธีการในการปรับปรุง

    • จำนวนคนที่จะต้องใช้ในการปรับปรุง

    • อุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการปรับปรุง

    • งบประมาณที่จะต้องใช้ (ถ้ามี)

(ศึกษาเนื้อหา หน้า ๔๕  ในเล่ม "แนวทางการขับเคลื่อนฯ")

ขั้นตอนที่ ๖

พิธีเปิด (Kick off)

 

การทำความสะอาดครั้งใหญ่ (Big Cleaning Day)

กำหนดให้มีการทำความสะอาดครั้งใหญ่ หรือที่เรียกว่า (Big Cleaning Day) ไม่ควรทำต่ำกว่า ๒ ครั้ง  (อย่างน้อย ๒ ครั้งภายในกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการ โดยการจัดทำ Big Cleaning Day จะต้องเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกันของทุกภาคส่วน ดังนี้

  • วัด ประกอบด้วย เจ้าอาวาส พระสงฆ์สามเณร ภายในวัด

  • องค์กรที่จับคู่กับวัด

  • ชุมชนที่อยู่ในบริเวณวัด

  • หน่วยงานจิตอาสาอื่นๆ ที่มีประสงค์เข้าร่วมทำกิจกรรม เช่น โรงเรียน หน่วยงานปกครองในพื้นที่ ชมรมต่างๆ เป็นต้น
    (ศึกษาเนื้อหา หน้า ๔๗ ในเล่ม "แนวทางการขับเคลื่อนฯ")

ขั้นตอนที่ ๗

ตรวจประเมินพื้นที่และสรุปผลการปฏิบัติงาน

 

รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการของวัดในภาพรวมประกอบด้วยข้อมูลดังนี้

  • ข้อมูลทั่วไป

  • ผลที่ได้รับ
    (ศึกษาเนื้อหา หน้า ๕๒ ในเล่ม "แนวทางการขับเคลื่อนฯ")

รายชื่อวัดที่ต้องดำเนินการ

ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓

bottom of page